สถิติ

ค่ากลางของข้อมูล


สรุป

1.     ความหมายของคำว่าสถิติ         สถิติ (statistic) มีความหมายมากมาย แต่พอสรุปได้ 2 ประการ  คือ        Ø     ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลขหรือลายลักษณ์อักษร ที่เก็บรวบรวมมาได้ เช่น สถิติการเกิด สถิติการตาย สถิติผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน สถิติผู้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ หรือ        Ø     เป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง จึงมักเรียกกันว่า “สถิติศาสตร์” มีขั้นตอนการที่ได้มาซึ่งสถิติรวม 4 ขั้นตอน คือ      
            1)   การเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูลได้ 2 แหล่ง คือ                       1.1)    แหล่งปฐมภูมิ  เช่น ได้จากการทดลอง (มีการควบคุมตัวแปร), การสำรวจ ได้แก่ การสำมะโน การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น                       1.2)    แหล่งทุติยภูมิ เช่น เอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวข้องรายงานการวิจัยงานทะเบียนหรือการบันทึก เป็นต้น                 
 2)   การวิเคราะห์ข้อมูล  เป็นกระบวนการจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์จะถูกนำเสนอและตีความต่อไป โดยที่มีวิธีการเก็บข้อมูล 2 ประเภท คือ                       2.1     การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา มีค่าสถิติที่นำมาใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ เช่น สัดส่วน ร้อยละการวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง เช่น  Mean, Mode, Median, การกระจายข้อมูล เช่น Range ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                       2.2     การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง  เป็นการวิเคราะห์มูลสถิติเชิงอนุมาน ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นการสรุปข้อมูลที่อ้างอิงจากตัวอย่างเป็นกลุ่มประชากร ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การประมาณค่าการทดสอบสมมุติฐาน (z-test, t-test, anovaหรือ f-test), การวิเคราะห์สหสัมพันธ์                  
3)   การนำเสนอข้อมูล  เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สู่สายตาคนอื่น ซึ่งการนำเสนอมีหลายวิธี เช่น การนำเสนอในรูปบทความหรือข้อความกราฟตาราง เป็นต้น                  
4)   การแปลความหรือตีความหมาย  เป็นการสรุปผลของการวิเคราะห์ข้อมูลว่า ผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่ได้ออกมาเป็นเช่นไร มีความหมายอย่างไร จะได้ค่าเป็นอย่างไร (ถ้าเวลาเราทำวิจัยจะอยู่ในที่บทที่เรียกว่า อภิปรายผลและบทสรุป)  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เศษส่วน

ตอนที่  7  เศษส่วน